ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

ประเพณีของชาวอุบลฯ

ชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เป็นผู้มีจิตใจเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก ยิ้มง่าย และด้านขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ นั้น ก็ยังมีลัทธิพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่บ้าง เช่น หากมีงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน แม้การประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ ก็ยังมีพิธีทางพราหมณ์เข้ามาผสมโดยทั่วไป

ประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์การทำศพแบบนกหัสดีลิงค์นั้น จำกัดเฉพาะกลุ่มเจ้านายอุบลฯ เท่านั้น เมื่อท่านเหล่านี้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ให้เชิญศพขึ้นเมรุรูปนกหัสดีลิงค์ หรือนกสักกะไดลิงค์ แล้วชักลากออกไปบำเพ็กุศลที่ทุ่งศรีเมืองเป็นเวลา 3 วัน จึงเผาศพ


งานบุญมหากฐิน ถิ่นนักปราชญ์ จังหวัดอุบลราชธานีงานบุญมหากฐินถิ่นนักปราชญ์ที่จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดขึ้น ตั้งแต่ปี 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำกองกฐินไปทอดยังวัดที่ไม่มีผู้จองกฐิน ทำให้เกิดการตื่นตัว พุทธศาสนิกชนให้ความสนใจการทอดกฐินกันมากขึ้น


งานสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี ชาวอุบลฯ จะพร้อมใจกันจัดงานเพื่อรำลึกถึงผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี โดยยึดเอาวันสิ้นชีพพิตักสัยของเจ้าคำผง เป็นวันประกอบพิธี เพื่อสดุดีวีรกรรมของท่าน และประกอบพิธีบวงสรวง สักการะ


งานเทศกาลขนมหวาน อาหารอร่อยชมรมผู้ประกอบการอาหาร 2001 อุบลราชธานี ขอเชิญเที่ยวงานเทศกาลขนมหวาน อาหารอร่อย ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 นี้ เพื่อแสดงถึงประเพณีการกินอยู่ ภูมิปัญญาการจัดเตรียมสำรับคาวหวานของชาวอุบล


งานเทศกาลไม้ดอกไม้ประดับจัดขึ้นในช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ณ บริเวณสนามกีพาทุ่งคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขบวนรถบุปผาชาติ การประกวดและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ


เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ เมืองอุบลจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (กลางเดือนเมษายน) ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ พิธีสรงน้ำพระแก้วบุษราคัม ขบวนแห่พระแก้วบุษราคัม การออกร้านสาธิตและจำหน่ายอาหาร 4 ชาติในอินโดจีน คือ ไทย ลาว กัมพูซา และเวียดนาม


งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจัดขึ้นในช่วงวันเข้าพรรษา (ประมาณเดือนกรกฎาคม) ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง กิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การเที่ยวชมศิลปะการตกแต่งเทียนตามวัดต่างๆ การจัดแสดงต้นเทียนรอบทุ่งศรีเมืองในยามค่ำคืน และการเคลื่อนขบวนแห่เทียนพรรษาในวันรุ่งขึ้น


งานประเพณีส่วงเฮือ (แข่งเรือ)ประเพณีส่วงเฮือ (แข่งเรือ) จัดขึ้นในช่วงออกพรรษาขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 (ตุลาคม) มีพิธีอัญเชิญเจ้าเมืองและสิ่งศักดิ์ลงในเรือ การแข่งเรือตามลำน้ำโขง เพื่อบวงสรวงสักการะแม่น้ำโขง รุกขเทวดา พญานาค และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปัจจุบันเน้นการแข่งเรือเพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก


ประเพณีลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสองแม้ว่าชาวอีสานจะมีงานลอยกระทงไปแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งถือเป็นประเพณีทุกปี แต่พอถึงวันลอยกระทงใหญ่ ซึ่งทั่วประเทศจะจัดกันในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวอีสานโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ก็ได้ลอยกระทงกันอีกครั้งหนึ่ง ถือว่าเป็นการลอนกระทงตามสมัยนิยม


งานประเพณีไหลเรือไฟจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา (ประมาณเดือนตุลาคม) ณ แม่น้ำมูลบริเวณ เชิงสะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การไหลเรือไฟของคุ้มวัดต่างๆ และประชาชนทั่วไป ที่อนุรักษ์รูปแบบประเพณีไหลเรือไฟพื้นบ้านอีสานดั้งเดิมไว้


งานกาชาดและงานปีใหม่จังหวัดอุบลราชธานี เหล่ากาชาดจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันจัดงานกาชาดและงานปีใหม่ ขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากจะมีการออกร้านกาชาด การแสดงนิทรรศการต่างๆ มหกรรมคอนเสิร์ตแล้ว ยังมีการประกวดนางสาวอุบลราชธานีอีกด้วย